พอดีอยากรู้เรื่องนี้ Arbitrage เลยค้น ๆ อ่านแล้ว ชอบมาก การแลกเปลี่ยน พูดคุย ยกตัวอย่าง การนำไปใช้ ชัด ง่าย ไม่ซับซ็อน ขอคัดเป็นส่วนที่สำคัญ ๆ ออกมาเก็บไว้นะครับ ขอบคุณทุกแหล่งความรู้ และพี่ ๆ กูรูทุกท่านมาก ๆ ครับ
ความคิดเห็นที่ 2
arbitrage พูดง่ายๆก็คือ คุณยืมรถเพื่อนห่วยๆมาย้อมแมวขายในราคารถใหม่ แล้วคุณก็เอาเงินนั้นมาซื้อรถคันใหม่แล้วก็จ่ายเงินคืนเพื่อนในราคารถเก่า
พูดง่ายๆก็คือ เป็นการได้กำไรโดยปราศจากความเสี่ยงโดยการ หา securities ที่ mispriced
ส่วนการ hedge ก็ง่ายมาก ยกตัวอย่าง ถ้าบริษัทคุณต้องการน้ำมัน 100 ถังแต่กัวว่าในอนาคตราคามันจะขึ้นไปอีกสูงมากๆๆๆ คุณก็ซื้อ future ไว้เลย 100 ถัง เท่านี้คุณก็จะสบายใจเฉิบว่า อย่างน้อยคุณก็รู้ว่าราคาที่คุณจ่ายไปน่ะ จะไม่มีทางเปลี่ยน แต่ในทางกลับกัน หากราคามันถูกลง แทนที่จะแพงขึ้น คุณก้อเสียตังค์ฟรี
จากคุณ : ! o_o ! - [ 25 ก.ย. 48 00:44:37 ]
ความคิดเห็นที่ 3
ขอเสริมหน่อยนะครับเดี๋ยวจะเข้าใจผิด การarbitrage ไม่ใช่การย้อมแมวนะครับ แต่สินค้าที่จะเกิดการarbitrageนั้นจะต้องมีคุณสมบัติเหมือนกันครับ แต่เนื่องจากสถานที่ต่างกันทำให้ราคาต่างกันส่วนมากราคาที่ต่างกันก็คือค่าขนส่งครับ ฉะนั้นเมื่อมีช่วงที่สามารถหากำไรได้ก็จะมีการซื้อสินค้าในที่ที่ราคาถูกกว่าไปขายที่ที่ราคาแพงกว่า ทำให้สุดท้ายราคามาเท่ากันครับ
สรุปแล้วการทำ arbitrage คือการหากำไรโดยปราศจากความเสี่ยงคร้าบ
จากคุณ : นอนใจ (galadinner) - [ 25 ก.ย. 48 01:32:56 ]
ความคิดเห็นที่ 5
ยกตัวอย่างง่ายๆ
ถ้ามี การตั้งโต๊ะทำ Tender Offer 10 บาท ขณะที่ ราคา ตลาด 5 บาท คุณก็รีบซื้อที่ราคาต่ำกว่า 10 บาท คุณก็กำไรชัวร์ไงครับ ไม่ใช่ย้อมแมวนะครับ
หรือคุณเป็น พนักงาน กฟฝ ราคา IPO ประมาณ 29 บาท แต่ได้ราคาพาร์ 10 บาท แค่นี้คุณก็ทำ arbitage ได้แล้ว กำไรเห็นๆ
แก้ไขเมื่อ 25 ก.ย. 48 09:51:24
จากคุณ : Siriwat_V - [ 25 ก.ย. 48 09:30:17 ]
ความคิดเห็นที่ 7
ครับไม่ใช่ย้อมแมวครับ แต่ที่สำคัญคือต้องมีอันไหนอันหนึ่งที่มัน mispriced พูดง่ายๆคือ คนขายมันโง่ หรือคนซื้อมันโง่ ถึงจะได้กำไร (ดังนั้น assumption ของ arbitrage condition ในการ pricing จึงมีไว้เพื่อสมมุติว่าทุกอย่างในโลกจะมีราคาที่ถูกต้องไม่เช่นนั้นจะมีคนมา arbitrage ให้ราคามันถูกผลักมาที่เดิม)
ยกตัวอย่างเลย สมมุติว่าคุณคิดว่า ในอนาคต ราคาน้ำมันควรจะลดลง ไม่ใช่เพิ่มขึ้น แล้วคุณเห็น future น้ำมันราคาสูงกว่าปัจจุบันอยู่ในตอนนี้ คุณก็ short future น้ำมันเลย ก็จะได้ราคาที่สูงสมมุติว่าเป็น สรุปว่าในวันนี้คุณจะได้เงิน สบายใจเฉิบ
แล้วคุณก็ รอ รอ รอ รอ พอไปถึงวันที่ future จะถึงวัน maturity ถ้าคุณทายถูก ราคามันก็จะต่ำๆๆๆ ลงมา ในตอนนี้คุณต้อง close short position ของคุณ ฉะนั้น คุณต้องซื้อคืนมา แต่ถ้าคุณทายถูก ราคาน้ำมันในตอนนี้มันควรจะต่ำๆๆๆๆ สมมุติ ฉะนั้น คุณก็จะได้เงินสบายเฉิบไป 60 - 20 =
ปล. แต่อันนี้ที่จริงมีความเสี่ยง เราสมมุติว่า คุณรู้ 100% ว่าราคามันจะลงมาแน่ๆ ซึ่งไม่มีหรอก แม้กระทั่งในชีวิตจริง arbitrage ไม่ใช่อะไรที่จะทำได้ง่ายๆ เพราะความเสี่ยงในตลาดที่วัดเป็น variance อะไรแบบนี้ มันไม่เหมือนความเสี่ยงในชีวิตจริง ที่เสียแล้วเสียเลย ส่วน variance เป็นค่าความเสี่ยงที่ใช้ข้อมูลที่ผ่านมา ฉะนั้นตามหลักแล้ว ในอนาคตอาจจะเกิดอะไรขึ้นก็ได้ (random walk) วันๆคิดว่า us govt bond risk free วันต่อมาอาจเจอ katrina เข้าไปยี่สิบลูก default เลยใครจะไปรู้
จากคุณ : ! o_o ! - [ 25 ก.ย. 48 12:21:42 ]
ความคิดเห็นที่ 9
ผมแปลภาษาชาวบ้าน และจะอธิบายอย่างง่ายๆ ไม่มีศัพท์ technic นะครับ เอาโดยหลักการ
ARBITRAGE
จับเสือมือเปล่า โดยไม่มีความเสี่ยง
เช่น
ไข่ราคา 3 บาท
มังคุดราคา 5 บาท
แต่มีคนรับซื้อไข่ โดยเค้าบอกว่า มังคุด 1 ลูก แลกไข่ได้ 2 ใบ
คุณก็ไปซื้อ มังคุด มา 5 บาท
แลกไข่มา 2 ใบ
ได้กำไรเห็นๆ 1 บาท
แนวๆนี้ครับ
Option / futures เหมือนกับ สัญญาแหละครับ
ใช้เพื่อ แลกเปลี่ยนความเสี่ยง ระหว่างกัน สำหรับคนที่มีมุมมองไม่เหมือนกัน หรือเหมือนกัน แต่ต่าง degree กัน
เช่น
คนนึงมองว่า บาทจะไป 45 /USD
อีกคนนึงมองว่า บาทจะไป 44/USD
หรือ คนนึมองว่า ยบาทจะแข็งไป 39
อีกคนบอกว่า บาทจะอ่อนไป 41
ทั้ง 2 กรณีนั้น ทำให้มี option / futures เกิดขึ้นมา
ตัวอย่างนะครับ
เช่น
คุณทำไข่เจียวขาย
ตอนนี้ไข่ ราคา 5 บาท
คุณคิดว่า ปีหน้า ไข่ราคา 10 บาท
คุณจึงกลัวว่า วัตถุดิบคุณจะแพง
แต่มีคนขายไข่อีกคน ที่คิดว่า มันไม่มีน่าแพง ขนาดนั้น
อย่างมากก็ 6บาท/ ฟอง
**กรณีที่ 1.
OPTION***
คน 2 คนคุยกัน และ คนขายไข่เจียวบอกว่า
เอางี้ละกัน ผมให้คุณ 100 บาท
แต่ผมขอสิทธ์ที่จะซื้อไข่จากคุณ ณ ราคา 6 บาท จำนวน 100ฟองละกัน คนขายไข่ Ok.. (คนซื้อ สามารถใช้สิทธิ์ หรือไม่ก็ได้)
ข้อดีสำหรับคนขายไข่เจียว: ถ้าราคาไข่แพงขึ้นมาก อย่างมาก ก็เท่ากับซื้อไข่ได้ในราคา 7 บาทต่อฟอง ในทางกลับกัน ถ้าราคาไข่ลงต่ำกว่า 6 บาท ก็ซื้อในราคาตลาด ยอมเสีย 100 บาทเป็นค่ากระจายความเสี่ยง..
ข้อดีสำหรับคนขายไข่: ไข่ไม่มีทางแพงขึ้นเกิน 6 บาทแน่ๆ หรือถ้าแพงเกิน 6 บาท ก้ยังมี 100 บาทที่ได้เป็นค่าทำสัญญามาเฉลี่ย
Futures/ forward
แบบเหตุการณ์ข้างบน
แต่ คนซื้อ/ขาย ไม่มีสิทธิ์เลือก
ต้องทำตามสัญญาที่ให้ไว้ ในอนาคต
ถ้ามีคำถาม PM/MSN มาได้ครับ
จากคุณ : -tai- - [ 25 ก.ย. 48 15:04:00 ]
ความคิดเห็นที่ 10
แหม๋จะว่าเป็นการทำธุรกรรมที่ไม่มีความเสี่ยงผมก็ยังตะขิดตะขวงใจอยู่ครับ เพราะเรารู้ว่าทุกๆอย่างมีความเสี่ยง
แต่เอาเป็นว่าการทำarbitrageคือการทำธุรกรรมโดยเล็งเห็นผลในการทำกำไรได้ โดยทั่วไปจะเกิดจากmarket imperfectionที่มีผลให้ราคาที่ปรากฎอยู่ในตลาดต่างๆไม่สอดคล้องกัน เช่นถ้าส้มที่กรุงเทพฯขายกก.ละ10บาท แต่ถ้าตลาดมีประสิทธิภาพ ราคาส้มที่เชียงใหม่บวกค่าใช้จ่ายต่างๆในการนำส้มลงมาขายที่กรุงเทพฯเช่นค่าขนส่ง จะต้องเท่ากับสิบบาทเช่นกัน
ในกรณีที่ราคาไม่เท่ากันarbitragerสามารถทำการซื้อขายโดยทำกำไรจากความต่างของราคานี้ได้ครับ เช่นถ้าราคาที่เชียงใหม่กก.ละ3บาท ค่าขนส่ง6บาท (รวม9บาท) arbitragerสามารถนำส้มจากเชียงใหม่ลงมาขายที่กรุงเทพฯโดยทำกำไรได้1บาทครับ แต่Speculatorก็ทำธุรกรรมเช่นนี้อยู่เสมอๆ
ดังนั้นเงื่อนไขที่สำคัญที่จะทำให้สามารถแยกarbitragerจากspeculatorได้ก็คือ cash flow(กระแสเงินสด)ของarbitrager ตลอดระยะเวลาการทำธุรกรรมนี้ต้องเท่ากับศูนย์หรือมากกว่าเสมอครับ ถ้าcash flowคุณติดลบ โดยทางทฤษฎีแล้วคุณจะกลายเป็นspeculatorครับ
จากคุณ : fqmm1974 - [ 26 ก.ย. 48 00:37:53 ]
ความคิดเห็นที่ 11
คำถามของคุณน่าจะเกี่ยวกับrisk managementครับ
ต้องเข้าใจก่อนว่าในตลาดมีplayerอยู่3ประเภทคือ
1.Hedger
2.Speculator
3.arbitrager
Hedgerคือผู้ที่ไม่อยากได้รับความเสี่ยงของความผันผวนของราคา(ในอนาคต) เช่นชาวนานำข้าวมาขายล่วงหน้าในราคาที่มีอยู่ในตลาดครับ
Speculatorคือผู้ที่คิดว่าสามารถคาดเดาความเปลี่ยนแปลงของราคาในอนาคตได้เลยมาทำการซื้อขายในปัจจุบัน โดยหวังว่าจะสามารถทำกำไรจากส่วนต่างของราคาในอนาคตได้ครับ
ในตลาด2playersนี้จะทำให้เกิดliquidityในตลาดเพราะจะทำให้มีผู้ซื้อและผู้ขายอยู่ในตลาดครับ
ส่วนarbitragerก็อย่างที่บอกไว้ในกระทู้ด้านบนครับ มีหน้าที่ทำให้ตลาดอยู่ในจุดที่สมดุลย์(equilibrium)
ตอบคำถามครับ การป้องกันความเสี่ยงหรือ hedging คือการทำuncertaintyในอนาคตให้certainครับ คือถ้ามีข้าวที่จะเก็บเกี่ยวในอีก3เดือนข้างหน้า ชาวนาก็จะขายล่วงหน้าเลยในราคาที่อยู่ในตลาดซื้อขายล่วงหน้าครับ
การถัวความเสี่ยง อันนี้ไม่แน่ใจคำถามครับ จะหมายความถึงการกระจายความเสี่ยงหรืออย่างไรครับ
ฟิวเจอร์ส (Futures) อันนี้เหมือน Forwardครับ แต่ฟิวเจอร์สจะอยู่ในแบบฟอร์มมาตราฐานครับ ต้องมีmaginที่ต้องmaintainกันด้วยครับ ส่วนForwardจะเป็นtailor madeหรือตกลงเงื่องไขกันเอง ย่อประมาณนี้ครับ รายละเอียดจำไม่ค่อยได้แล้วครับ
"สองตัวนี้ล่ะที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือหลักในการทำกิจกรรมทั้งสองอย่าง ยังไงมั่งครับ" ไม่เข้าใจคำถามครับ
จากคุณ : fqmm1974 - [ 26 ก.ย. 48 00:56:24 ]
arbitrage ถือว่า ไม่มีความเสี่ยงครับ
อันนี้ ไม่ใช้ arbitrage ครับ:
ในกรณีที่ราคาไม่เท่ากันarbitragerสามารถทำการซื้อขายโดยทำกำไรจากความต่างของราคานี้ได้ครับ เช่นถ้าราคาที่เชียงใหม่กก.ละ3บาท ค่าขนส่ง6บาท (รวม9บาท) arbitragerสามารถนำส้มจากเชียงใหม่ลงมาขายที่กรุงเทพฯโดยทำกำไรได้1บาทครับ แต่Speculatorก็ทำธุรกรรมเช่นนี้อยู่เสมอๆ
เพราะมี time frame เข้ามาเกี่ยวข้อง (เวลาการขนส่ง, ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น, etc) arbritrage ต้องไม่มีส่วนต่างของเวลา เพราะ ตราบใดที่มีเงื่อนไขเวลา มันเหมือนการค้าขายทั่วๆไปครับ
จากคุณ : -tai- - [ 26 ก.ย. 48 01:49:53 ]
ความคิดเห็นที่ 14
option ก็คล้ายๆกับ forward แต่ต่างกันตรงที่สัญญาไม่ผูกพันให้ผู้ซื้อสิทธิ์ที่จะซื้อ/ขาย ต้องทำตามสัญญา โดยผู้ซื้อสิทธิ์สามารถที่จะทำตามสัญญารึไม่ก็ได้ ถ้าเค้าจะได้ประโยชน์จากสิทธิ์นั้น ก็จะexercise ถ้าไม่ได้ประโยชน์ก็ไม่ exercise
จากคุณ : is that so? - [ 26 ก.ย. 48 22:14:49 ]
การทำกำไรโดยการใช้ กลยุทธ์ Arbitrage (สำหรับคนที่ยังไม่รู้นะครับ วันนี้นั่งศึกษาเกี่ยวกับการทำ Arbitrage เพราะไปงานสัมนางานหนึ่ง ซึ่งพิธีกรได้พูดเกี่ยวกับการทำ Arbitrage ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการทำกำไรโดย"ไม่มี" ความเสี่ยง (เห็นเขาพูดไว้อย่างนั้นนะครับ) ทำกันอย่างไร มีคนอธิบายไว้ดีมากเลยครับ
การทำกำไรโดยวิธีการทำ Arbitrage หุ้น
การทำกำไรสำหรับนักลงทุนระยะยาว โดยไม่มีความเสี่ยงต่อการถือหุ้นนั้น เราสามารถใช้เทคนิคการ Arbitrage ซึ่งเป็นการหาผลตอบแทนเทียบกันระหว่าง 2 หลักทรัพย์ โดยมีวิธีการคือเราจะเปลี่ยนไปถือหลักทรัพย์ที่มีส่วนต่างของกำไรที่สูงกว่า โดยไม่มีความเสี่ยงในเรื่องของราคาเข้ามากระทบแต่อย่างไร หรือไม่มีความเสี่ยงจากการแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ครับ
ตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้ว เอาตัวอย่างของจริงมาดูกัน วันนี้วันที่ 4 ตุลาคม 2549 มีเหตุการณ์ของหุ้นตัวหนึ่งที่ทำให้สามารถทำ Arbitrage ระหว่างหลักทรัพย์ Warrant คือหุ้นลูก และหุ้นแม่ที่ใช้อ้างอิง
ขอใช้เป็นระหัสนะครับ คือหุ้นสารพัดช่าง หรือหุ้นช้างครับ
ตัวลูกสามารถแปลงสภาพได้ในราคา 4.50 บาทต่อหุ้น แปลงได้ทุกไตรมาส หมดเขตแปลง มี.ค. 50 ซึ่งหมายความว่า เราอาจใช้สิทธิแปลงสภาพทีละไตรมาส โดยแปลงหุ้นลูกเป็นหุ้นแม่ โดยมีระยะเวลาแปลงสภาพเหลืออยู่อีกประมาณ 6 เดือน ตัวลูกช่วงเช้าอยู่ที่ 3.70 - 3.72 แต่ตัวแม่อยู่ที่ 8.55
ถ้าเราต้องการถือหุ้นแม่ในระยะยาว โดยไม่ต้องการขายในระยะสั้น เราสามารถทำ Arbitrage หุ้นได้ทันที โดยใช้วิธีการคือ
เอาตัวลูกแปลงเป็นตัวแม่ได้ 3.72 + 4.5 บาท ได้ราคา 8.22 บาทต่อหุ้น ราคาหุ้นแม่อยู่ที่ 8.55 บาทต่อหุ้น ใครมีหุ้นสารพัดช่าง ขายตัวแม่ทิ้ง แล้วซื้อตัวลูกไปแปลงสภาพ ได้กำไรส่วนต่างเห็น ๆ 8.55 - 8.22 บาทต่อหุ้น หรือเท่ากับ 0.33 สตางค์ต่อหุ้น โดยไม่มีความเสี่ยงในการถือหุ้นแต่อย่างไร เพราะหุ้นลูกแปลงเป็นหุ้นแม่ได้ทุกไตรมาสอยู่แล้ว ใครถือยาวและเป็นนักลงทุนที่มีเหตุผล จึงต้อง Atbitage ครับกำไรเห็น ๆ ทันที ลดต้นทุนหุ้นแม่ไป 0.33 ต่อหุ้น
แต่ช่วงที่เขียนต่อมาราคาปิดตลาดวันนี้ ราคาหุ้นแม่อยู่ที่ 9.05 บาทต่อหุ้น และหุ้นลูกอยู่ที่ 4.16 บาทต่อหุ้น หุ้นลูกแปลงเป็นหุ้นแม่ได้ในราคารวมเท่ากับ 8.66 บาท ตอนนี้ราคายิ่งน่าสนใจยิ่งขึ้น เพราะ ราคาแปลงสภาพจะถูกกว่าหุ้นแม่ 9.05 - 8.66 บาทหรือเท่ากับ 0.39 บาท คิดเป็นกำไรส่วนต่าง 4.30% เทียบกับราคาหุ้นแม่ครับ แบบนี้ถือลูกแปลงแม่ดีกว่าครับ
อันนี้เป็นเทคนิคที่อาจารย์ใหญ่ ดร.นิเวศน์เคยบอกไว้ในหนังสือผมอ่านมานานแล้ว จำไม่ได้ว่าเล่มไหนนะครับ เพราะอาจารย์แต่งหลายเล่มเหลือเกินครับ วันนี้เห็นของจริงเลยครับ เลยได้ทำ Arbitrage แล้วได้ค่าขนมไปเรียบร้อยแล้ว แถมวันนี้หุ้นลูกขึ้นแรงกว่าหุ้นแม่เสียอีกครับ อิ อิ ใครไม่อยากแลกหุ้นแม่ ก็หาโอกาสทำกำไร 2 ชั้น ได้กำไรทั้งหุ้นแม่ และกำไรหุ้นลูก 2 เด้งเลยครับ หรือถ้าคิดว่าเป็นหุ้นที่ดี เราก็อาจจะลงทุนระยะยาวต่อไป แถมเราก็สามารถประหยัดต้นทุนได้ตามที่อธิบายไว้ครับ อิ อิ
ขอบคุณ ขอบคุณคุณ Bul และคุณเปิล ด้วยนะครับ
Posted by : SiTh LoRd P@cK
ปิดท้ายด้วย Blog ของคุณลุงแมวน้ำครับ
และประโยคสรุปของคุณลุง แจ่มมาก ลุงบอกว่า
"หลักการในการทำไรจากราคาที่แตกต่างกันระหว่างสองตลาดหรือที่เรียกว่าอาร์บิทราจ ซึ่งปกตินักลงทุนหรือกองทุนใหญ่ๆที่ลงทุนข้ามชาติมักทำกัน ส่วนใหญ่ได้กำไรจากช่องราคาที่แตกต่างกันนิดหน่อยแต่เน้นที่ใช้ปริมาณสัญญาจำนวนมาก หมายถึงว่าหนึ่งสัญญากำไรนิดเดียวถือสัญญาเพียงระยะสั้น ไม่ถือนาน แต่ใช้ซื้อขายสัญญาจำนวนมากจึงทำให้ได้กำไรมาก แต่นักลงทุนรายย่อยมักทำไม่ได้เพราะส่วนใหญ่เล่นตลาดเดียว อีกประการหนึ่งก็คือไม่ได้มีทุนมากจนสามารถซื้อขายสัญญาจำนวนมากได้
การทำอาร์บิทราจในสมัยนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนักลงทุนหรือกองทุนต่างก็จ้องหาตลาดและโอกาสที่จะทำอาร์บิทราจอยู่ ดังนั้นพอราคาเริ่มมีช่องนักลงทุนก็จะแห่กันเข้ามาทำอาร์บิทราจจนช่องราคาถูกปิดไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นผู้ที่ทำอาร์บิทราจจึงไม่มีใครถือสัญญานานๆ เพราะช่องจะแคบลงและปิดไปอย่างรวดเร็ว ได้นิดหน่อยก็รีบออกกันแล้ว"