แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ E-Finance แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ E-Finance แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

+++ Average True Range (ATR) คืออะไร ใช้ยังไง มีประโยชน์แบบไหน โน๊ตไว้หน่อย

     Average True Range (ATR) เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ในการวัดความผันผวนของตลาดนั้นๆ โดยทั่วไปมันจะเป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ในรอบของมันที่ได้กาหนดเอาไว้เป็นความแตกต่างที่มากที่สุดของราคาสูงสุดของวันนี้และราคาต่าสุดของวันนี้ ราคาสูงสุดของวันนี้และราคาปิดเมื่อวานและราคาต่าสุดของวันนี้และราคาปิดเมื่อวาน ซึ่งถ้าค่ามันมีค่ามากก็จะทำให้ความผันผวนของหุ้นตัวนั้นมีความผันผวนมากขึ้นตามไปด้วย ส่วนค่าที่น้อยค่าความผันผวนก็จะน้อยตาม สรุปคือ มันใช้ดูการแกว่งตัวของหุ้น ว่ามากหรือน้อย แต่ไม่ได้เอาไว้ใช้ดูเทรนนะ 

ใน e-fin ก็มี ATR ให้ใช้นะครับ ไล่ตามเมนูนี้เลย click ขวาที่กราฟ

     ส่วนอันนี้ผมปรับแต่งตามแนวคิดผมเองนะ คือพอเรา Add ATR เข้ามา มันมองยาก ว่าตกลงแล้วช่วงไหน แกว่งแรงไม่แรง ผมก็จะเอา EMA หรือ SMA เข้ามา อย่างที่เห็น SMA คือสีเหลือง ATR คือสีส้ม เท่านี้เราก็จะสามารถดูได้ง่ายขึ้นแหละว่า ช่วงไหนแกว่งแรง อย่างกรณี SET ก็ตามกรอบสีแดง คำว่าแกว่งแรง คือไม่ได้เกี่ยวกับว่าจะขึ้นหรือลงนะ แต่มันบอกว่าช่วงนั้น หุ้นหรือ products ตัวนั้นๆ มีความผันผวนสูง   


ถ้าจะดูสูตรคำนวณแบบจัดเต็ม
http://stockcharts.com/help/doku.php?id=chart_school:technical_indicators:average_true_range_a 

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

+++ หลงบ่อยดีนัก เอาไว้นี่แหละ Foreign Index, Foreign Exchange และ Foreign Commodities ของ Efinance

ความหมายของตัวย่อในส่วนของ Foreign Index

1.DJIA คือ ดัชนีดาวน์โจนส์ของ อเมริกา
2.IXIC คือ ดัชนีบริษัทกลุ่มเทคโนโลยี ของ อเมริกา
3.SP500 คือ ดัชนีบริษัทชั้นนำจาก the Standard and Poors 500 บริษัท ของ อเมริกา
4.CAC คือ ดัชนีของประเทศฝรั่งเศส
5.DAX คือ ดัชนีแดกซ์ของประเทศเยอรมัน
6.FTSE  คือ ดัชนีฟุตซีของประเทศอังกฤษ
7.AOIS คือ ดัชนีอลลออร์ดิแนรีของออสเตรเลีย
8.BSESN คือ ดัชนีเซนเซกซ์ของอินเดีย
9.HSKI คือ ดัชนีหั่งเส็งของฮ่องกง
10.JKSE คือ ดัชนีจากาตา ของ อินโดนีเซีย
11.KOSPI คือ ดัชนีคอสปี ของเกาหลีใต้
12.NIX คือ นิกเกอิ ของญี่ปุ่น
13.NZSE คือ ดัชนีประเทศนิวซีแลนด์
14.PHCOMP คือ ดัชนีของฟิลิปปินส์
15.SHI  คือ ดัชนีเซี่ยงไฮ้ ของ จีน
16.STI คือ ดัชนีสเตรทส์ไทมส์ ของสิงคโปร์
17.TWII คือ ดัชนีไทเอกซ์ ของไตหวัน

ความหมายของตัวย่อในส่วนของ Foreign Exchange

1.Baht คือ เงินบาทของไทย
2.AUS คือ เงินของออสเตรเลีย
3.EURO คือ เงินยูโร
4.PESO คือ เงินของฟิลิปปินส์
5.HK คือ เงินของฮ่องกง
6.Pound คือ เงินของอังกฤษ
7.Ring คือ เงินของมาเลเซีย
8.RPH คือ เงินของอินโดนีเซีย
9.SING คือ เงินของสิงคโปร์
10.TW คือ เงินของไต้หวัน
11.US คือ เงินของอเมริกา
12.WON คือ เงินของเกาหลีใต้
13.YEN คือ เงินของญี่ปุ่น
14.SWiSS คือ เงินของสวิตเซอร์แลนด์

หมายเหตุ : ค่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศเป็นการอ้างอิงจากตลาดที่ซื้อขายเงินกันดังนั้นจะเป็นคนละค่ากับที่นักลงทุนพบเห็นตามธนาคาร
หรือธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งมีข้อดีในการวิเคราะห์มากกว่าเพราะเป็นค่าที่สะท้อนของความจริงโดยไม่ถูกแทรกแซง และเป็นข้อมูลเรียลไทม์ด้วย

ความหมายของตัวย่อในส่วนของ Foreign Commodities

1. BDI คือ ค่าระวางเรือ มีผลต่อรายได้ของกลุ่มเดินเรือ
2. GOLDPRICE คือ ราคาทองคำอ้างอิงตลาดอเมริกา มีผลต่อการลงทุนใน Gold Futures
3. NYMEX คือ ราคาน้ำมันดิบ อ้างอิงตลาดอเมริกา มีผลต่อบริษัทในกลุ่มพลังงานมากหน่อย
4. SILVER คือ ราคาโลหะเงิน อ้างอิงตลาดอเมริกา

หมายเหตุ : ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เป็นราคาแบบ ณ สิ้นวัน ไม่เรียลไทม์

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

+++ ตัวอย่างการอ่าน Indicator ต่างๆ จาก E-Finance


วิธีการอ่านค่าต่าง ๆ นะครับ

1. SAR หรือจุดไข่ปลา ขาว ๆ ด้านบน ใช้ตัวตัวบอกแนวโน้ม ระยะ 1-2 อาทิตย์ ถ้า SAR อยู่บน หรือเหนือราคา คือแนวโน้มขาลง และยิ่ง SAR ห่างจากราคามาก...ก็มีสิทธิ์ลงแรง (จริง ๆ จะให้แม่นย้ำใช้คู่กับ Stoch Chastic Oslilator

2. เส้น EMA 4 เส้นที่ผมวางไว้คือ สีเขียวสดคือ EMA13, เหลืองคือ EMA34, และแดงคือ EMA89 ส่วนเขียวเข้มด้านล่างคือ EMA200 เหมือนเดิมครับ ถ้าเส้นน้อยวันตัดเส้นมากวันลงไปคือแนวโน้มลง (ถ้าเส้นน้อยวันตัดเส้นมากวันขึ้นคือแนวโน้มขาขึ้น) และ EMA แต่ละเส้น จะมีพลังหรือน้ำหนักในการเป็นแนวรับ หรือแนวต้านที่มากขึ้นตามลำดับ เช่น EMA200 วันจะเป็นเส้นแนวรับที่แข็งแรง กว่า EMA89 และ EMA89 ก็เป็นแนวรับที่สำคัญกว่า EMA34 เป็นต้น ดังนั้นถ้า ราคามันหลุด EMA เส้นไหนได้ ...เส้นต่อไปมักจะเป็นแนวรับถัดไป ....ดังนั้นถ้าหุ้นลงแล้วหลุดเส้น ema มากวัน....ก็คงพอเดากันออก โดยเฉพาะพวกที่ลงพร้อม Volume เยอะ ๆ

3. MACD ที่ผม SET ไว้คือ ถ้า เขียวตัดแดงลง ..คือเข้าสู่ momentum ของขาลง หมดแรง..(ช่องที่ 3 นับจากด้านบนลงมานะครับ)

4. ADX,DI+,DI- หรือ ช่องล่าง ต่อจาก MACD สีเขียว กับ แดง มีความหมายคือ ถ้า เขียวตัดขึ้นบน หรืออยู่เหนือแดง ..หมายถึง แนวโน้มขาขึ้น... ส่วน ADX คือตัว Confirm ว่า สีที่ชนะ..คือ ตัวจริง ...เช่น ถ้าเขียวอยู่บนแดง แล้วเหลือง (ADX) มีค่าเพิ่มเติม ก็จะเป็นการบอกว่า...แนวโน้มขาขึ้นมีความแข็งแรง ค่า ADX ที่แรงๆ คือ 40 ขึ้นไป ..ส่วน ADX 20-30 คือช่วงตั้งฐาน.....แต่...............ทีนี้ถ้าแดงอยู่บนเขียว ..หรือแดงกำลังตัดเขียว คือแนวโน้ม ขาลง...และถ้าเจ้า ADX มีค่า มาก...มันก็กำลังบอกว่า นี่คือขาลง...ที่แท้จริง ชัด ๆ ดังนั้นถ้า แดงขึ้น แล้วเหลืองขึ้นตาม พร้อม Volume “””ก็ได้งานเข้ากันแหละครับ

+++ เห็นผมบ้าเล่นนั่น นี่ โน่น แต่จริงๆ ไม่ต้องไรมาก ก็เล่นหุ้นได้นะครับ


   บางทีอย่างที่เขาว่าครับ ไม่ต้องท่ายากเยอะก็เล่นหุ้นได้ ถ้าควบคุมตัวเองได้   หลายคนอาจจะเห็นผมเล่น นั่น นี่ โน่น เยอะแยะไปหมด มันเป็นความชอบ ความถนัด ของผม และผมมีความสุข สนุกกับมัน  แต่ผมอยากแชร์ว่า  ความรู้ด้าน VI, Fundamental, Technical, Indicator ต่างๆ ผมว่ามันไม่ยากเกินเรียนรู้ และเข้าใจ ไม่จำเป็นต้องใช้อะไรเยอะแยะ แต่สิ่งที่ยากคือ เราควบคุมหรือทำตามที่สิ่งที่ควรทำได้หรือเปล่า


ยกตัวอย่างครับ เอาแค่กราฟแท่งเทียน กับ MACD จาก Efinance ตามภาพ เล่น Day Time Frame เข้าออก ตามสัญญาณ MACD ตัด Signal เหนือ 0 ก็คือแนวโน้มดี Signal ตัด MACD ก็ไม่ดี  ไม่ชัวร์ก็อย่าเข้า เขาบอกให้เข้าก็เข้า เขาบอกให้ขายก็ขาย เขาให้ wait & see ก็ทำตามระบบ 

    เรามีหน้าที่แค่เลือกหุ้นดี ๆ ตัดอารมณ์ออกมา อย่าไปลุ้น ไปเดาไรมากมาย เล่นตามน้ำไป อย่าพยายามไปเอาชนะเทรด หรือชนะตลาด  เลี่ยงหุ้นปั่น กำไรน้อย ขาดทุนเยอะ หนี้เยอะ เจ้ามือโหด ซึ่งถ้าคนที่เล่นหุ้นมานานก็จะรู้ ว่าตัวไหน นิสัย ไรยังไง หลักการความรู้ มีแชร์เต็ม facebook อย่าซื้อหุ้นขาลงกับ sideway ให้เล่นขาขึ้น... จริง ๆ แค่ภาพด้านบน มองแบบผ่าน ๆ ก็พอเดาได้ว่า ช่วงไหน ขา ขึ้น ลง หรือ sideway ...ส่วนใหญ่รู้กันหมด ...แล้วทำไมละ ทำไมเราถึงไปติดดอยกันเยอะแยะ......เพราะเราควบคุมอารมณ์เราไม่ได้ เราอยากเทรด เราชอบเทรด เราชอบลุ้น ...เห็นไหมครับ เราเลย โดน....ก่อนนั้น ผมก็เป็น


ทางแก้ส่วนตัวผม ..ผมก็ไปหาเทรดอย่างอื่นแทนไงคับ :) 

วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

+++ Heiken Ashi กับจังหวะและเวลาการเข้า ออก


     การเลือกจังหวะและเวลาการเข้า ตลาด ..ใช้คำว่าเข้าตลาด คือ จะ เทรดหรือจะไม่เทรด ถ้าปรับกราฟเป็น Heiken Ashi แล้ว ทีนี้มาดูจุดเข้านะครับ อย่างกรณีใช้กับ SET หรือเอาไปใช้กับหุ้นเลยก็ได้ จุดเข้า ออก เอาแบบพื้น ๆ ก่อน เข้าเมื่อเขียวแท่งที่ 2 และออกเมื่อเกิดแดงแท่งที่ 2 แม้จะไม่ 100% (ไม่มีเทคนิคไหนที่ทำให้เราเข้าออกได้ถูกต้อง 100%) จากภาพ เอา SET มาเป็นกรณีศึกษา จะเห็นง่าย ๆ เลยว่าช่วงไหน เราควรเข้ามาเทรด ช่วงไหน ควรถอย หรือ อย่างน้อย ใช้ในการบริหาร port การลงทุน เช่น ถ้าแน้วโน้มดี เราก็จัดเต็ม ถ้าไม่ดี เราก็ลด port ถือเงินสด ... แค่นี้ก่อนนะ เดี๋ยวว่ากันไปเรื่อย ๆ

+++ Emotion with Heiken Ashi

     เอาง่าย ๆ ก่อน เดิมเราใช้กราฟ แท่งเทียน อย่างที่เห็นด้านบน เขาเอาราคา เปิด ปิด high low มา plot ซึ่งจะ plot ตามค่าจริง ๆ ทำให้เวลาเราอ่านหรือเห็น อารมณ์เราจะเข้าไปตามสี และกราฟที่เห็น ยิ่งเอามาเล่น time frame ที่เล็กแล้ว มันจะสลับไปมาไวมาก ทำให้เรา....มีอารมณ์ กะมัน 
   วิธีแก้ ทำตามภาพครับ ปรับกราฟ เป็น Heiken Ashi มันคืออะไร มันเป็นการเอาค่า เปิด ปิด hi,low ที่ว่านั่นแหละครับ เอามาคำนวณใหม่ ในแนวค่าเฉลี่ยที่เกิดขึ้น แล้ว plot ใหม่ ...มันจะได้ตามภาพที่ผม post ดังนั้นสำหรับคนที่ บอกว่าดู indicator ไรต่าง ๆ ไม่เป็ ก็แค่ดูตาม Heiken ashi ก็น่าจะพอนึกออกนะครับว่า ช่วงไหนเราจะเล่น หรือ ไม่เล่น ข้า หรือออก ไม่ว่าหุ้น พื้นฐาน หรือ หุ้นปั่น วันนี้ผมว่า เพื่อน ๆ ได้เห็นแล้วว่า จริง ๆ แล้ว นี่คือ เกมส์การเงิน แล้วจะมา update ต่อให้นะครับ